เทคนิคการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

เทคนิคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

Posted in Uncategorized | Leave a comment

การสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

Posted in Uncategorized | Leave a comment

การทำงานของอินเตอร์เน็ต

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

Posted in Uncategorized | Leave a comment

ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์

ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์

Posted in Uncategorized | Leave a comment

วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์

Posted in Uncategorized | Leave a comment

พจนานุกรม…:)! ♥

พจนานุกรม
เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้
คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง

รูปแบบของพจนานุกรม
พจนานุกรมภาษาเดียว มักเป็นพจนานุกรมหลัก ที่อธิบายความหมายของคำในภาษาหนึ่งๆ ภาษาที่อธิบายความหมาย เป็นภาษาเดียวกับภาษาที่ลำดับเป็นหลักในพจนานุกรม วงศัพท์ในพจนานุกรมภาษาเดียวมักจะกว้าง แทบจะครอบคลุมทุกคำที่มีอยู่ในภาษานั้นหรือแวดวงนั้น (แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ก็ตาม)
พจนานุกรมสองภาษา เป็นพจนานุกรมที่อธิบายความหมายของคำในภาษาหนึ่งๆ ด้วยอีกภาษาหนึ่ง เราพบเห็นได้ทั่วไป เช่น พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ที่มีการให้ความหมายเป็นภาษาไทย หรือในทางกลับกัน การอธิบายความหมายนั้น อาจจะสั้น หรือให้ความหมายยืดยาวอย่างละเอียด ก็ยังเรียกว่า พจนานุกรมสองภาษา เช่นกัน
พจนานุกรมหลายภาษา เป็นพจนานุกรมที่ มักจะเทียบศัพท์จากภาษาหนึ่ง ไปเป็นศัพท์ภาษาอื่นๆ มากกว่า 1 ภาษา พจนานุกรมลักษณะนี้ ไม่เน้นความละเอียดในการอธิบายศัพท์ เนื่องจากข้อจำกัดของเนื้อที่ และเพื่อความสะดวกในการค้นหาศัพท์ เช่น ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พจนานุกรมเฉพาะทาง เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์วิศวกรรม พจนานุกรมศัพท์วรรณคดี เป็นต้น
พจนานุกรมคำสัมผัส เป็นพจนานุกรมที่ลำดับคำ ตามเสียงสระ และเสียงพยัญชนะตัวสะกด เพื่อประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์ เอาเสียงสัมผัส อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมแบบนี้พบได้น้อย เนื่องจากมีผู้ใช้ในวงจำกัด
พจนานุกรมคำเหมือนและคำตรงข้าม เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ที่มีความหมายอย่างเดียวกันเรียงไว้เป็นลำดับ โดยมากมักจะมีคำศัพท์ที่มีความหมายตรงกันข้ามเอาไว้ด้วย

คุณลักษณะของพจนานุกรม
การสะกด การสะกดในพจนานุกรมถือเป็นมาตรฐานในการใช้งาน และถือเป็นหน้าที่หลักลำดับแรกของพจนานุกรม บางภาษามีการเขียนแยกคำไว้ให้ เพื่อความสะดวกในการพิมพ์ที่จำเป็นต้องขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจากนี้บางคำที่สามารถสะกดได้มากกว่า 1 แบบ พจนานุกรมจะเก็บไว้ด้วย
ความหมาย การอธิบายความหมาย อาจเป็นข้อความสั้นๆ หรือให้รายละเอียดมาก แจกแจงเป็นข้อย่อยๆ การให้ความหมายถือเป็นหัวใจหลักของพจนานุกรมส่วนใหญ่
คุณสมบัติทางไวยากรณ์ นั่นคือระบุประเภทของคำ ว่าเป็น คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม ฯลฯ ซึ่งมักปรากฏในพจนานุกรมภาษา (ไม่ใช่พจนานุกรมศัพท์เฉพาะ)
ตัวอย่างประโยค และปริบท พจนานุกรมอาจยกตัวอย่างประโยคเพื่อให้เข้าใจความหมายและการใช้คำนั้นๆ ง่ายขึ้น บางเล่ม มีตัวอย่างประโยคสำหรับทุกคำในพจนานุกรมเลยทีเดียว
การออกเสียง สำหรับภาษาเขียนที่มีเกณฑ์การออกเสียงที่ซับซ้อน และไม่สามารถคาดคะเนได้จากรูปเขียนอย่างถูกต้อง เช่น ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน และแม้กระทั่งภาษาไทยก็ตาม พจนานุกรมจะระบุการออกเสียงไว้ด้วย บางเล่มออกเสียงให้ทุกคำ ขณะที่บางเล่มระบุการออกเสียงให้เฉพาะคำที่อ่านยาก หรือเป็นข้อยกเว้น
ประวัติคำ หรือที่มาของคำ พจนานุกรมที่มีความละเอียด จะให้ที่มีของคำ ว่าพบครั้งแรกที่ใด หรือ
คุณลักษณะอื่นๆ เช่น การใช้คำ ความหมายแฝง หรือข้อควรสังเกตอื่นๆ

Posted in Uncategorized | Leave a comment

ละครประกันภัย

Posted in Uncategorized | Leave a comment

มัทนะพาธา 5/1

Posted in Uncategorized | Leave a comment

สมุนไพร…♥ เพื่อสุขภาพ :)

ความหมาย
คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

ลักษณะ

พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
1.รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2.สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3.กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4.รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5.ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

ประเภทของยาเภสัชวัตถุ
ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
1.ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
2.ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น

บทบาททางเศรษฐกิจ
สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก

การศึกษาเพิ่มเติม
ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป

การเก็บรักษาสมุนไพร
1.ควรเก็บยาสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น สถานที่เก็บสมุนไพรนั้นต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อขับไล่ความอับชื้นที่อาจจะก่อให้เกิดเชื้อราในสมุนไพรได้
2.สมุนไพรที่จะเก็บรักษานั้นต้องแห้งไม่เปียกชื้น หากเสี่ยงต่อการขึ้นราได้ ควรนำสมุนไพรนั้นออกมาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ
3.ในการเก็บสมุนไพรนั้นควรแยกประเภทของสมุนไพรในการรักษาโรค เพื่อป้องกันการหยิบยาผิดซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
4.ควรตรวจดูความเรียบร้อยในการเก็บสมุนไพรบ่อย ๆ ว่ามีสัตว์หรือแมลงต่างๆ เข้าไปทำลายหรือก่อความเสียหายกับสมุนไพรที่เก็บรักษาหรือไม่ ถ้ามีควรหาทางป้องกันเพื่อรักษาคุณภาพของสมุนไพร[2]

การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้
1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น

2.ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
3.ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
4.ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
5.ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น [3]

Posted in Uncategorized | Leave a comment